|
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ
ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ห้องสมุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี มีวิธีการจัดระบบหมวดหมู่หนังสือโดยใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ 2 ระบบ คือ
1.ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (N.L.M. : Nation Library of Medicine Classification) มีดังนี้
ก.หมวดหมู่หนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ใช้สัญลักษณ์ QS - QZ แทนหมวดหมู่หนังสือ ดังนี้
- QS กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy)
- QT สรีรวิทยา (Physiology)
- QU ชีวเคมี (Biochemistry)
- QV เภสัชวิทยา (Pharmacology)
- QW จุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน (Microbiology and Immunology)
- QX ปรสิตวิทยา (Parasitology)
- QY พยาธิวิทยาคลินิก (Clinical Pathology)
- QZ พยาธิวิทยา (Pathology)
ข.หมวดหมู่หนังสือที่เกี่ยวกับวิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ใช้สัญลักษณ์ W - WZ แทนหมวดหมู่หนังสือ ดังนี้
- W อาชีพแพทย์ (Medical Profession)
- WA สาธารณสุขศาสตร์ (Public Health)
- WB อายุรศาสตร์ (Practice of Medicine)
- WC โรคติดเชื้อต่างๆ (Infections Diseases)
- WD โรคขาดธาตุอาหาร (deficiency Diseases)
- WE ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก (Musculoskeletal System)
- WF ระบบหายใจ (Respiratory System)
- WG ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
- WH ระบบทางเดินของเลือดและน้ำเหลือง (Hemic and Lymphatic System)
- WI ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ (Gastrointestinal System)
- WJ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์ (Urogenital System)
- WK ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)
- WL ระบบประสาท (Nervous System)
- WM จิตเวชศาสตร์ (Phychiatry)
- WN รังสีวิทยา (Radiology)
- WO ศัลยศาสตร์ (Surgery)
- WP นรีเวชวิทยา (Gynecology)
- WQ สูติศาสตร์ (Obstetrics)
- WR วิทยาโรคผิวหนัง (Dermatology)
- WS กุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics)
- WT เวชศาสตร์ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (Geriatrics, Chronic Diseases)
- WU ทันตแพทย์ศาสตร์ศัลยกรรมช่องปาก (Dentistry Oral Surgery)
- WV โสต ศอ นาสิก (Otolaryngology)
- WW จักษุวิทยา (Ophthalmology)
- WX กิจกรรมในโรงพยาบาล (Hospitals and Other Health Facilidies)
- WY การพยาบาล (Nursing)
- WZ ประวัติการแพทย์ (History of Medicine)
2. การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
เรียกย่อๆ ว่า ระบบ D.C. หรือ D.D.C คือ การแบ่งความรู้ต่างๆ ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นสัญลักษณ์ ดังต่อไปนี้
- 000 เบ็ดเตล็ด ความรู้ทั่วไป บรรณารักษศาสตร์
- 100 ปรัชญา จิตวิทยา
- 200 ศาสนา
- 300 สังคมศาสตร์
- 400 ภาษาศาสตร์
- 500 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
- 600 เทคโนโลยี หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์
- 700 ศิลปกรรม และนันทนาการ
- 800 วรรณคดี
- 900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
สัญลักษณ์หนังสือที่ใช้มี ดังนี้
- นว ใช้แทน นวนิยาย
- รส ใช้แทน เรื่องสั้น
- อ ใช้แทน อ้างอิง
|
|